วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิธีทำแชมพูสระผมจากว่านหางจระเข้

    ส่วนผสมแชมพูสระผมสมุนไพร ว่านหางจระเข้  (ต้นสดอายุมากกว่า 1 ปี) ½ ถ้วยตวง
-เอ บี ซี (หัวแชมพูดชนิดอ่อน) 1 กิโลกรัม
-โซเดียมคลอไรด์ (ผงข้น) 300 กรัม
-ลาโนลีน (ละลายน้ำ) 100 กรัม
-ผงฟอง 100 กรัม
-น้ำ 3 ลิตร
-กลิ่น (หัวน้ำหอม) 25 ซีซี
-ยากันบูด 10 กรัม


     1.นำว่านหางจระเข้มาปอกเหลือกออกเอาแต่วุ้นใสๆ ข้างใน และล้างให้สะอาดนำไปต้มให้เดือดแล้วใสเครื่องปั่น (เติมน้ำเล็กน้อย) ปั่นให้ละเอียดแล้วนำไปต้มให้เดือด แล้วกรองด้วยผ้าขาวบางเอากากออกให้หมด
                                                            
     2.นำผงฟองละลายน้ำ ( 1.5 ลิตร ) คนให้ผงฟองละลายจนหมด
     3.นำว่านหางจระเข้ที่กรองเอากากออกมาผสมกับ น้ำมะกรูด เอ บี ซี (หัวแชมพูดชนิดอ่อน) โซเดียมคลอไรด์ ลาโนลีน น้ำผงฟอง นำมาผสมกันโดยเทใส่ภาชนะแล้วคนให้ละลายเข้ากันและพักไว้
     4.เติมกลิ่น (หัวน้ำหอม) และยากันบูดและกวนให้เข้ากันตั้งทิ้งไว้จนหมดฟอง
     5.บรรจุใส่ภาชะที่เตรียมไว้ พร้อมใช้หรือจำหน่าย

ข้อแนะนำบางประการในการดูแลเส้นผมให้มีสุขภาพดี

1. เลือกใช้แชมพูที่มีฟองน้อย (ไม่มีประจุไฟฟ้า) โดยปกติผู้บริโภคจะยึดติดกับแชมพูที่มีฟองมาก ซึ่งจะทำให้มีสารตกค้างในเส้นผมมากมีผลทำให้ผมกระด้าง ทุกครั้งที่สระผมควรล้างสารตกค้างออกจากเส้นผมด้วยน้ำสะอาดให้หมดจด

2. ควรหลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ผมเสีย เช่นการเป่าผม ความร้อน น้ำยาดัดผม แสงแดด และการกัดสีผม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญทำให้ผมเสียแห้งและ แตกปลาย

3. ควรแปรงผมจากหนังศีรษะถึงปลายผมบ่อย ๆ เพราะ

ขั้นตอนการสระผมอย่างถูกวิธี


1. ขั้นแรกแนะนำให้หวีผมก่อน เพราะจะทำให้เส้นผมไม่พันกันระหว่างสระ ช่วยลดการขาดของเส้นผมได้

2. แล้วค่อยชำระล้างสิ่งสกปรกจากฝุ่น ควัน ผง ที่เส้นผมได้ไปสัมผัสมาตลอดทั้งวัน โดยการล้างด้วยน้ำสะอาดให้ทั่วเส้นผมและหนังศีรษะ

3.แล้วจึงค่อยใช้แชมพู ปริมาณในการใช้ไม่ต้องมาก เพราะจะทำให้ล้างออกยาก และอาจตกค้างที่หนังศีรษะจนแพ้หรือเป็นรังแคได้ ให้เทลงบนฝ่ามือ อย่าเทโดยตรงลงบนผม เพราะเนื้อแชมพูที่เข้มข้นอาจเกาะอยู่ตามหนังศีรษะและเส้นผม ทำให้ล้างออกยาก และเสี่ยงต่อการตกค้างได้
ให้กะปริมาณดังนี้ ผมสั้นปริมาณในการใช้ประมาณเหรียญบาท ผมประบ่าเหรียญห้าบาท แต่ถ้าผมยาวมากให้แบ่งเป็น 2 ตอน คือโคนผมและปลายผม ปริมาณของแต่ละส่วนเท่ากับเหรียญสิบ แล้วขยี้แชมพูลงบนฝ่ามือสักครู่จนเกิดฟอง

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเส้นผม


ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเส้นผม

วงจรชีวิตของเส้นผม (The hair cycle)

แบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ คือ

1.ระยะอานาเจน (Anagenic phase) เป็นระยะที่เส้นผมงอกงามออกมาเรื่อยๆ มีช่วงเวลา 2 ถึง 6 ปี (เฉลี่ย 3 ปี) เมื่อเราอายุมากขึ้นระยะนี้จะสั้นลง โดยเฉลี่ยเส้นผมคนเรางอกในอัตราอย่างน้อย 1 เซนติเมตรต่อเดือน

2.
ระยะคะทาเจน (Catagen phase) คือระยะหยุดงอก โดยในระยะนี้เซลล์รากผมจะค่อยๆแยกตัวออกจากเส้นผม ทำให้เส้นผมขาดสารอาหารและความแข็งแรงลดลง ระยะนี้มีช่วงเวลา 2-4 สัปดาห์ (เฉลี่ย 3 สัปดาห์)

3.
ระยะเทโลเจน (Telogen phase) ในระยะพัก มีช่วงเวลา 3-4 เดือน โดยเส้นผมเดิมจะหลุดร่วงไป และเส้นผมใหม่กำลังงอกออกมา

เส้นผมแต่ละเส้นจะผ่านจากระยะที่ 1 ไปสู่ 2 และ 3 ตามลำดับ และย้อนกลับมาระยะที่ 1 ใหม่ เป็นวัฏจักรชีวิตของเส้นผม ดังนั้นในคนปกติ ผมจะผลัดกันร่วงและงอกใหม่อยู่ตลอดเวลา จึงแลดูดกดำเป็นธรรมชาติ โดยปกติผมที่ร่วง วันละ 50-100 เส้น ถือว่าปกติ ถ้ามากกว่านี้จึงถือว่าผิดปกติ

อายุกับวงจรชีวิตของเส้นผม

บันทึกความดี

1.ตั้งใจเรียน
2.ขยัน
3.เชื่อฟังพ่อแม่
4.พูดจาไพเราะ
5.กวาดขยะ
6.มีความมุ่งมั่น


เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับแชมพูสระผม
                    เส้นผมที่สวยเป็นเงางาม มีน้ำหนัก เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ เราควรดูแลรักษาเส้นผมอย่างไรเพื่อให้คงอยู่กับเราได้ยาวนานและแลดูมีสุขภาพดี ก่อนอื่นเรามารู้จักเส้นผมกันดีกว่า
                    เส้นผมคือเซลที่ตายแล้ว แต่จะเป็นเงางามหรือแข็งแรงขนาดไหนขึ้นอยู่กับรากผม   โดยปกติแล้วผมยาวประมาณเดือนละ 1 ซม.และมีอายุถึง 7 ปี แต่จะร่วง         ประมาณ 100 - 150 เส้นต่อวัน การที่เส้นผมเป็นเงางามเกิดจากแวกซ์ที่ออกมาจากรากผมหรือต่อมน้ำมันที่รากผมนั่นเอง ถ้าร่างกายแข็งแรง รากผมแข็งแรง ็จะส่งผลให้เส้นผมสลวยเป็นเงางามไปด้วย      
                   แชมพูสระผมคือปัจจัยสำคัญที่มีผลโดยตรงต่อความแข็งแรงและความงามของเส้นผม ผู้บริโภคมักจะเข้าใจผิดอยู่เสมอว่าแชมพูคือสารที่ทำให้เส้นผมดี แท้ที่จริงแล้วหน้าที่โดยตรงของแชมพูก็คือการทำให้เส้นผมและหนังศีรษะสะอาด การที่แชมพูบางตราโฆษณาว่าผสมวิตามิน  ไข่มุก  สมุนไพร หรือ
อื่น ๆ อีกมากมาย ที่จะซึมซาบเข้าสู่เส้นผมทำให้เส้นผมมีสุขภาพดีได้นั้น ไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด เพราะว่าสารผสมดังกล่าวไม่สามารถที่จะเข้าไปแทรกสู่เส้นผมซึ่งเป็นเซลที่ตายแล้วนั่นเอง ผมขาดน้ำหนัก เติมอะไรเข้าไปก็ไม่ช่วยให้ดีขึ้น หรือผมร่วงแชมพูอะไรก็แก้ไม่ได้ การที่ผมจะดีได้ขึ้นอยู่กับรากผมเท่านั้น ตลาดแชมพูในประเทศไทยมีผู้ประกอบการประมาณ 30-40 รายที่ผลิตแชมพูออกจำหน่ายประมาณ 70 ตรา แต่มีผู้ผลิตรายใหญ่อยู่ประมาณ 5-6 ราย มีการแข่งขันกันอย่างดุเดือดโดยเน้นโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพในระดับราคาที่เหมาะสมและจูงใจกลุ่มลูกค้ามากขึ้น การแข่งขันจะแยกอย่างชัดเจนเป็นการเจาะตรงแต่ละประเภทแต่ละวัตถุประสงค์ของการใช้   เช่น   แชมพูบิวตี้แชมพูขจัดรังแค แชมพูอ่อนใส แชมพูทูอินวัน และแชมพูเด็ก
เป็นต้น ส่วนผสมในการผลิตแชมพูจะมีวัตถุดิบหลักเหมือนกัน คือสารทำความสะอาด น้ำหอม ครีมหรือน้ำมัน และแตกต่างกันในส่วนที่มิใช่วัตถุดิบ เช่น สมุนไพร วิตามิน รวมกันประมาณร้อยละ 26 นอกจากนี้จะเป็นค่าภาชนะบรรจุประมาณร้อยละ 21และค่าใช้จ่ายในการขายบริหารประมาณร้อยละ 48  ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่เป็นค่าโฆษณา จะเห็นได้ว่าต้นทุนผลิตของแชมพู 1 ขวด จะเน้นหนักไปที่ค่าหีบห่อและค่าโฆษณา โดยเฉพาะ ค่าโฆษณาเราจะเสียเงินค่าใช้จ่าย
ส่วนนี้ถึงประมาณ 2,000 ล้านบาท/ปี ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่าราคาของแชมพูในแต่ละขวดมิได้แพงตรงส่วนผสมพิเศษอื่น ๆ เลย ดังนั้น การเลือกใช้แชมพูสระผมจึงไม่จำเป็นต้องเลือกใช้ตราที่มีส่วนผสมมากมายเพราะนั่นคือการที่ผู้บริโภคต้องจ่ายเงินเพิ่มโดยไม่เกิดประโยชน์

มีข้อแนะนำบางประการในการดูแลเส้นผมให้มีสุขภาพดี ดังนี้